วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การตรวจวัตถุที่ถูกยิง

ภาพถ่ายการกระจายของลูกกระสุนปราย
           -  บริเวณที่เขม่าปืนติดอยู่บาดแผล ที่ถูกยิง
           -  เสื้อผ้า หรือวัตถุอื่นใด ที่ถูกยิง
           -  รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ถูกยิง
คำแนะนำโดยทั่วไป
            -  การถ่ายภาพ แสดงมาตราส่วนด้วย
            -  การถ่ายภาพ ไว้หลาย ๆ ด้าน เพื่อแสดงรายละเอียดให้มากที่สุด
            -  ห้ามซักล้างหรือทำความสะอาด เสื้อผ้าที่ถูกยิง
            -  ระวังอย่าให้เสื้อผ้า หรือวัตถุเปรอะเปื้อนเพิ่มขึ้น
            -  ถ้าเสื้อผ้า หรือวัตถุ เปื้อนโลหิต ให้ผึ่งลมให้แห้งเท่านั้น
            -  ห้ามบรรจุเสื้อผ้าที่เปื้อนโลหิตลงในถุงพลาสติก หลังผึ่งลมแห้งแล้ว ให้ห่อด้วยกระดาษเท่านั้น
            -  กรณีรถถูกยิง ให้รักษาสภาพบริเวณที่ถูกยิงไว้เหมือนเดิม รอยกระสุนปืนทะลุกระจกรถยนต์ให้ใช้เทปยึดให้ติดกันไว้ อย่างทะลวงกระจกทิ้ง ใช้รถยกหรือลาก อย่าขับ
            -  ถ่ายภาพรถ บริเวณที่ถูกยิงและรอยลูกกระสุนผ่าน
 บันทึกการส่งของกลางไปตรวจพิสูจน์
            -  แจ้งข้อเท็จจริงของคดีโดยละเอียด
            -  แจ้งรายละเอียดของกลางให้ครบถ้วน
            -  แจ้งจุดประสงค์ในการตรวจพิสูจน์ให้ชัดเจน
            -  แจ้งชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เพื่อความสะดวกในการติดต่อ
            -  บรรยายประกอบภาพให้ชัดเจน เช่น ระยะห่างระหว่างรูของลูกกระสุนปรายเท่าใด บริเวณที่เขม่าดินปืนปรากฎอยู่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าใด บาดแผลกว้าง ยาวเท่าใด ตรงกับรูเสื้อผ้าหรือไม่
             -  ส่งสำเนารายงานชันสูตรของแพทย์ด้วย (ถ้ามี)
             -  แจ้งยี่ห้อ แบบ ชนิด ลักษณะ สีของเสื้อผ้า หรือวัตถุ
             -  แจ้งจำนวนรูกระสุนที่เสื้อผ้าหรือวัตถุ พร้อมให้บรรยายตำแหน่งของรูกระสุนปืน
             -  แจ้งลักษณะบาดแผลที่ร่างกายผู้ถูกยิง มีจำนวนกี่รูและขนาดโดยประมาณเท่าใด ตำแหน่งตรงกับรูกระสุนบนเสื้อผ้าหรือไม่ หรือส่งภาพถ่ายบาดแผลพร้อมแสดงมาตราส่วนด้วย
             -  แจ้งรายละเอียดของรถของกลางให้ครบถ้วน เช่น ชนิด ยี่ห้อ สี หมายเลขทะเบียน เป็นต้น
วิธีทำเครื่องหมาย เพื่อให้จำได้ถูกต้อง
             -  ทำเครื่องหมายหรือชื่อย่อ พร้อมเซ็นต์ชื่่อไว้หลังภาพทุกภาพ
             -  ทำเครื่องหมายหรือชื่อย่อ ที่ขอบเสื้อผ้าหรือวัตถุ โดยให้ห่างจากบริเวณที่ถูกยิง
การบรรจุหีบห่อ และการนำส่ง
             -  ภาพถ่าย ให้บรรจุในกล่อง ซองพลาสติก หรือซองกระดาษอย่างหนาให้เรียบร้อย
             -  เสื้อผ้า ให้ห่อหรือใส่ถุงกระดาษ ถ้ามีหลายชิ้นให้ห่อ หรือใส่ถุงแยกกัน แล้วระบุว่ามาจากของผู้ใด บรรจุรวมในกล่องให้เรียบร้อย
             -  ส่งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไปที่ พฐก. ศพฐ. หรือ พฐ.จว. แล้วแต่กรณี
             -  หากมีความจำเป็นไม่อาจนำส่งรถของกลางได้ ให้แจ้ง พฐก. ศพฐ. หรือ พฐ.จว. แล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาส่งผู้เชี่ยวชาญไปตรวจพิสูจน์ต่อไป
ตัวอย่างการตั้งประเด็นคำถาม
              -  รถยนต์ของกลาง มีร่องรอยถูกลูกกระสุนปืนยิงหรือไม่  และวิถีกระสุนเป็นอย่างไร
              -  เสื้อของกลาง มีร่องรอยถูกลูกกระสุนปืนยิงหรือไม่ และมีวิถีกระสุนเป็นอย่างไร