ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุตามระบบ FBI จะมีลักษณะการทำงานเป็นทีม โดยในทีมจะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ประกอบด้วย
1. หัวหน้าทีม (Team Leader)
2. ช่างภาพ (Photographer)
3. เจ้าหน้าที่สเก็ตซ์ภาพ (Sketch Preparer)
4. เจ้าหน้าที่บันทึกและเก็บรักษาวัตถุพยาน (Evidence Recorder/Custodian)
5. เจ้าหน้าที่ค้นหาพยานหลักฐาน (Evidence Recovering Personal)
6. ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialists)
ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุนั้น จะใช้หลัก 12 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัว (Preparation) เป็นการตรวจความสอบความพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวมถึงการประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 2 ใกล้ถึงสถานที่เกิดเหตุ (Approach Scene) เป็นการเตรียมความพร้อมครั้งสุดท้ายในทุก ๆ ด้าน เช่น จิตใจ เอกสาร อุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมมากที่สุดในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 3 การรักษาความปลอดภัยและการป้องกันสถานที่เกิดเหตุ (Secure and Protect Scene) เมื่อถึงสถานที่เกิดเหตุ ต้องพิจารณาขอบเขตในการป้องกันสถานที่เกิดเหตุเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุพยานทั้งหมด โดยต้องไม่ลืมถึงความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุ รวมถึงจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น (Initiate Preliminary Survey) เป็นการตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น โดยหัวหน้าทีม เพื่อกำหนดรูปแบบวิธีการของทีมให้เหมาะสมกับสภาพของสถานที่เกิดเหตุรวมถึงการบันทึกสภาพทั่ว ๆ ไป
ขั้นตอนที่ 5 ประเมินพยานหลักฐานที่พบในสถานที่เกิดเหตุ (Evaluate Physical Evidence Possibility) เป็นการประเมินถึงพยานหลักฐานที่อาจพบในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้ครอบคลุมในการค้นหาวัตถุพยานและป้องกันการทำลายวัตถุพยาน
ขั้นตอนที่ 6 เตรียมบรรยายสรุปสภาพของสถานที่เกิดเหตุ (Prepare Narrative Description) บรรยายสภาพทั่วไปและลักษณะพิเศษของสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการบันทึกอาจทำได้หลายวิธี เช่น บันทึกเสียง การเขียน หรือบันทึกวิดีโอ
ขั้นตอนที่ 7 กำหนดการถ่ายภาพ (Depict Scene Photographically) ถ่ายภาพสภาพของสถานที่เกิดเหตุทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล โดยให้ครอบคลุมสภาพหรือพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุโดยเฉพาะวัตถุพยานที่พบในสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 8 เตรียมการวาดแผนผัง การสเก็ตซ์ภาพสถานที่เกิดเหตุ (Prepare Diagram / Sketch of Scene) เป็นการสเก็ตซ์ภาพของสถานที่เกิดเหตุ โดยมีการกำหนด ทิศ มาตราส่วน และระยะต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 9 การตรวจสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด (Conduct Detailed Search) เป็นการค้นหาพยานหลักฐานที่อาจพบในสถานที่เกิดเหตุ โดยการค้นหาจะใช้รูปแบบตามความเหมาะสม เช่น แบบตาราง ก้นหอย ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 10 การบันทึกและตรวจเก็บพยานหลักฐาน (Record and Collect Physical Evidence) เป็นการบันทึกตำแหน่งและถ่ายภาพพยานหลักฐาน เพื่อกำหนดตำแหน่งของพยานหลักฐานก่อนการเก็บพยานหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 11 การตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Conduct Final Survey) เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการเก็บพยานหลักฐาน ว่าได้กระทำถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่
ขั้นตอนที่ 12 การออกและส่งคืนสถานที่เกิดเหตุ (Release Scene) การส่งมอบคืนสถานที่เกิดเหตุ ต้องมีบันทึก วันเวลา ที่ส่งมอบคืนสถานที่เกิดเหตุ
ข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุ (Safety Consideration)
FBI คิดว่าความจำเป็นมากที่สุดในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ คือ จะไม่พาผู้ใต้บังคับบัญชารวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มาร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุให้ได้รับการติดเชื้อ บาดเจ็บ หรือตาย ดังนั้น ในการปฏิบัติงานตรวจสถานที่เกิดเหตุทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้สติปัญญา และสามัญสำนึกในการป้องกันตัว
1. หัวหน้าทีม (Team Leader)
2. ช่างภาพ (Photographer)
3. เจ้าหน้าที่สเก็ตซ์ภาพ (Sketch Preparer)
4. เจ้าหน้าที่บันทึกและเก็บรักษาวัตถุพยาน (Evidence Recorder/Custodian)
5. เจ้าหน้าที่ค้นหาพยานหลักฐาน (Evidence Recovering Personal)
6. ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialists)
ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุนั้น จะใช้หลัก 12 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัว (Preparation) เป็นการตรวจความสอบความพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวมถึงการประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 2 ใกล้ถึงสถานที่เกิดเหตุ (Approach Scene) เป็นการเตรียมความพร้อมครั้งสุดท้ายในทุก ๆ ด้าน เช่น จิตใจ เอกสาร อุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมมากที่สุดในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 3 การรักษาความปลอดภัยและการป้องกันสถานที่เกิดเหตุ (Secure and Protect Scene) เมื่อถึงสถานที่เกิดเหตุ ต้องพิจารณาขอบเขตในการป้องกันสถานที่เกิดเหตุเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุพยานทั้งหมด โดยต้องไม่ลืมถึงความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุ รวมถึงจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น (Initiate Preliminary Survey) เป็นการตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น โดยหัวหน้าทีม เพื่อกำหนดรูปแบบวิธีการของทีมให้เหมาะสมกับสภาพของสถานที่เกิดเหตุรวมถึงการบันทึกสภาพทั่ว ๆ ไป
ขั้นตอนที่ 5 ประเมินพยานหลักฐานที่พบในสถานที่เกิดเหตุ (Evaluate Physical Evidence Possibility) เป็นการประเมินถึงพยานหลักฐานที่อาจพบในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้ครอบคลุมในการค้นหาวัตถุพยานและป้องกันการทำลายวัตถุพยาน
ขั้นตอนที่ 6 เตรียมบรรยายสรุปสภาพของสถานที่เกิดเหตุ (Prepare Narrative Description) บรรยายสภาพทั่วไปและลักษณะพิเศษของสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการบันทึกอาจทำได้หลายวิธี เช่น บันทึกเสียง การเขียน หรือบันทึกวิดีโอ
ขั้นตอนที่ 7 กำหนดการถ่ายภาพ (Depict Scene Photographically) ถ่ายภาพสภาพของสถานที่เกิดเหตุทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล โดยให้ครอบคลุมสภาพหรือพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุโดยเฉพาะวัตถุพยานที่พบในสถานที่เกิดเหตุ
ขั้นตอนที่ 8 เตรียมการวาดแผนผัง การสเก็ตซ์ภาพสถานที่เกิดเหตุ (Prepare Diagram / Sketch of Scene) เป็นการสเก็ตซ์ภาพของสถานที่เกิดเหตุ โดยมีการกำหนด ทิศ มาตราส่วน และระยะต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 9 การตรวจสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด (Conduct Detailed Search) เป็นการค้นหาพยานหลักฐานที่อาจพบในสถานที่เกิดเหตุ โดยการค้นหาจะใช้รูปแบบตามความเหมาะสม เช่น แบบตาราง ก้นหอย ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 10 การบันทึกและตรวจเก็บพยานหลักฐาน (Record and Collect Physical Evidence) เป็นการบันทึกตำแหน่งและถ่ายภาพพยานหลักฐาน เพื่อกำหนดตำแหน่งของพยานหลักฐานก่อนการเก็บพยานหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 11 การตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Conduct Final Survey) เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการเก็บพยานหลักฐาน ว่าได้กระทำถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่
ขั้นตอนที่ 12 การออกและส่งคืนสถานที่เกิดเหตุ (Release Scene) การส่งมอบคืนสถานที่เกิดเหตุ ต้องมีบันทึก วันเวลา ที่ส่งมอบคืนสถานที่เกิดเหตุ
ข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุ (Safety Consideration)
FBI คิดว่าความจำเป็นมากที่สุดในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ คือ จะไม่พาผู้ใต้บังคับบัญชารวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มาร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุให้ได้รับการติดเชื้อ บาดเจ็บ หรือตาย ดังนั้น ในการปฏิบัติงานตรวจสถานที่เกิดเหตุทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้สติปัญญา และสามัญสำนึกในการป้องกันตัว