หลักการทำงาน อาศัยหลักการที่ว่า อารมณ์และร่างกายมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
อุปกรณ์เครื่องจับเท็จประกอบด้วย
1. Pneumograph tupe ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
2. Blood pressure cuff ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต
3. Galvanic skin reflex (GSR) ใช้วัดความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง
4. อุปกรณ์บันทึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเป็นถุงลมยางติดตั้งไว้ที่พนักพิงเก้าอี้
หลักการวิเคราะห์
เพื่อบันทึกข้อมูล ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเปลี่ยนแปลงความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง จะบันทึกไปพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง และแสดงผลออกมาบนกระดาษกราฟ โดยกลไกที่เรียกว่า Kymograph แล้วนำข้อมูลซึ่งแสดงเป็นรูปกราฟนั้นมาวิเคราะห์ว่าบุคคลนั้นพูดจริงหรือพูดเท็จ
วิธีดำเนินการในการจับเท็จ
1. การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการนัดหมายนำผู้ต้องสงสัยมาเข้าเครื่องจับเท็จ ผู้ชำนาญจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นและรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ที่เข้าทดสอบ รวมทั้งคำให้การของผู้เสียหายและพยาน แผนที่สถานที่เกิดเหตุเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี ซึ่งจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าใจรายละเอียดในคดีได้ดีขึ้น การทราบข้อมูลเบื้องต้นเป็นประโยชน์ในการสัมภาษณ์ก่อนเข้าเครื่องและการสัมภาษณ์หลังการเข้าเครื่องจับเท็จ
2. การสัมภาษณ์ก่อนเข้าเครื่อง (Pretest interview) ใช้เวลาประมาณ 30 - 110 นาที จุดมุ่งหมายให้ผู้เชี่ยวชาญสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ และเพื่อตั้งคำถามที่จะใช้เข้าเครื่อง
- สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของท่าทางตลอดจนเสียงพูด และสายตาของการตอบคำถามในขณะสัมภาษณ์
- การตั้งคำถามที่จะเข้าเครื่อง
3. การทดสอบด้วยเครื่องจับเท็จ โดยมีการทดสอบตามขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งอาจพบปัญหาแล้ว แต่ละบุคคล
4. การวิเคราะห์ผล เป็นการแปรผลกราฟ
ประโยชน์ของเครื่องจับเท็จ
- ตรวจสอบคำให้การของพยาน ผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้เข้าทดสอบ
- สามารถแยกผู้บริสุทธิ์ออกจากผู้ต้องสงสัย
- ในบางครั้งทำให้ผู้กระทำความผิดยอมรับสารภาพ
- สามารถกำหนดแนวทางการสืบสวนได้อย่างถูกต้อง ทำให้คลี่คลายคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น
อุปกรณ์เครื่องจับเท็จประกอบด้วย
1. Pneumograph tupe ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
2. Blood pressure cuff ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต
3. Galvanic skin reflex (GSR) ใช้วัดความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง
4. อุปกรณ์บันทึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเป็นถุงลมยางติดตั้งไว้ที่พนักพิงเก้าอี้
หลักการวิเคราะห์
เพื่อบันทึกข้อมูล ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเปลี่ยนแปลงความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง จะบันทึกไปพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง และแสดงผลออกมาบนกระดาษกราฟ โดยกลไกที่เรียกว่า Kymograph แล้วนำข้อมูลซึ่งแสดงเป็นรูปกราฟนั้นมาวิเคราะห์ว่าบุคคลนั้นพูดจริงหรือพูดเท็จ
วิธีดำเนินการในการจับเท็จ
1. การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการนัดหมายนำผู้ต้องสงสัยมาเข้าเครื่องจับเท็จ ผู้ชำนาญจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นและรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ที่เข้าทดสอบ รวมทั้งคำให้การของผู้เสียหายและพยาน แผนที่สถานที่เกิดเหตุเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี ซึ่งจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าใจรายละเอียดในคดีได้ดีขึ้น การทราบข้อมูลเบื้องต้นเป็นประโยชน์ในการสัมภาษณ์ก่อนเข้าเครื่องและการสัมภาษณ์หลังการเข้าเครื่องจับเท็จ
2. การสัมภาษณ์ก่อนเข้าเครื่อง (Pretest interview) ใช้เวลาประมาณ 30 - 110 นาที จุดมุ่งหมายให้ผู้เชี่ยวชาญสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ และเพื่อตั้งคำถามที่จะใช้เข้าเครื่อง
- สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของท่าทางตลอดจนเสียงพูด และสายตาของการตอบคำถามในขณะสัมภาษณ์
- การตั้งคำถามที่จะเข้าเครื่อง
3. การทดสอบด้วยเครื่องจับเท็จ โดยมีการทดสอบตามขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งอาจพบปัญหาแล้ว แต่ละบุคคล
4. การวิเคราะห์ผล เป็นการแปรผลกราฟ
ประโยชน์ของเครื่องจับเท็จ
- ตรวจสอบคำให้การของพยาน ผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้เข้าทดสอบ
- สามารถแยกผู้บริสุทธิ์ออกจากผู้ต้องสงสัย
- ในบางครั้งทำให้ผู้กระทำความผิดยอมรับสารภาพ
- สามารถกำหนดแนวทางการสืบสวนได้อย่างถูกต้อง ทำให้คลี่คลายคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น